77,322 total views

สะพานภูมิพล ๑ และสะพานภูมิพล ๒

สะพานภูมิพล ๑ และสะพานภูมิพล ๒

สะพานขึงแฝดแห่งแรกของประเทศไทย
เป็นส่วนหนึ่งของ “ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม”
เส้นทางอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร
ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
แต่เดิมสะพานแห่งนี้ได้รับการเรียกว่า “สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม”
ต่อมาได้พระราชทานนามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศเหนือ
ที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดสมุทราปราการว่า “สะพานภูมิพล ๑”
ส่วนด้านทิศใต้ที่เชื่อมอำเภอพระประแดงกับตำบลสำโรงใต้
พระราชทานนามว่า “สะพานภูมิพล ๒”
ทำหน้าที่รองรับการลำเลียงขนถ่ายสินค้าในเขตอุตสาหกรรมของจังหวัดสมุทรปราการ
เชื่อมโยงถนนพระราม ๓ และถนนปู่เจ้าสมิงพรายเข้าด้วยกัน
ทั้งยังทำหน้าที่ “ลัดทาง” ไม่ให้รถบรรทุกขนาดใหญ่ต้องแล่นผ่านเข้าไปในเมือง
อันเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของปัญหาจราจรติดขัด
โดยตัวสะพานได้รับการออกแบบให้มีความมั่นคงแข็งแรง
สามารถรองรับปริมาณการจราจรได้เป็นจำนวนมาก
และยังไม่กีดขวางการเดินเรือ เนื่องจากสะพานใช้สายเคเบิลในการกระจายน้ำหนัก
ทำให้ไม่ต้องสร้างตอม่อกลางแม่น้ำ
ทั้งยังเปี่ยมด้วยภูมิสถาปัตย์ที่งามสง่าและทรงคุณค่า
เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

สะพานขึงแฝดแห่งแรกของประเทศไทย
เป็นส่วนหนึ่งของ “ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม”
เส้นทางอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร
ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
แต่เดิมสะพานแห่งนี้ได้รับการเรียกว่า “สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม”
ต่อมาได้พระราชทานนามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศเหนือ
ที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดสมุทราปราการว่า “สะพานภูมิพล ๑”
ส่วนด้านทิศใต้ที่เชื่อมอำเภอพระประแดงกับตำบลสำโรงใต้
พระราชทานนามว่า “สะพานภูมิพล ๒”
ทำหน้าที่รองรับการลำเลียงขนถ่ายสินค้าในเขตอุตสาหกรรมของจังหวัดสมุทรปราการ
เชื่อมโยงถนนพระราม ๓ และถนนปู่เจ้าสมิงพรายเข้าด้วยกัน
ทั้งยังทำหน้าที่ “ลัดทาง” ไม่ให้รถบรรทุกขนาดใหญ่ต้องแล่นผ่านเข้าไปในเมือง
อันเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของปัญหาจราจรติดขัด
โดยตัวสะพานได้รับการออกแบบให้มีความมั่นคงแข็งแรง
สามารถรองรับปริมาณการจราจรได้เป็นจำนวนมาก
และยังไม่กีดขวางการเดินเรือ เนื่องจากสะพานใช้สายเคเบิลในการกระจายน้ำหนัก
ทำให้ไม่ต้องสร้างตอม่อกลางแม่น้ำ
ทั้งยังเปี่ยมด้วยภูมิสถาปัตย์ที่งามสง่าและทรงคุณค่า
เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
เลขที่ ๓๘ ถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐